เมนู

อา. ดูก่อนอาวุโส เรามีชื่อว่า อานนท์ และเพื่อนพรหมจารี
ทั้งหลาย เรียกเราว่า อานนท์.
โก. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าสนทนาอยู่กับท่านอาจารย์ผู้ใหญ่
ไม่รู้เลยว่าเป็นท่านพระอานนท์ ก็ถ้าว่าข้าพเจ้าพึงรู้ว่า นี้คือท่านพระ-
อานนท์ไซร้ ข้าพเจ้าก็ไม่พึงกล่าวโต้ตอบถึงเท่านี้ ขอท่านพระอานนท์
จงอดโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด.
จบโกกนุทสูตรที่ 6

อรรถกถาโกกนุทสูตรที่ 6


ใน โกกนุทสูตรที่ 6 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปุพฺพาปยมาโน ได้แก่ ทำตัวให้ปราศจากน้ำเช่นกับก่อน
อาบ. ศัพท์ว่า เกฺวตฺถ อาวุโส ตัดบทว่า โก เอตฺถ อาวุโส. บทว่า
ยาวตา อาวุโส ทิฏฺฐิ ความว่า ชื่อว่าทิฏฐิ 62 อย่าง มีอยู่เท่าใด. บทว่า
ยาวตา ทิฏฺฐิฏฺฐานํ ความว่า ฐานแห่งทิฏฐิ 8 อย่าง มีประมาณอย่างนี้
คือ ขันธ์เป็นฐานทิฏฐิก็มี อวิชชาก็มี ผัสสะก็มี สัญญาก็มี วิตกก็มี
อโยนิโสมนสิการก็มี ปาปมิตรก็มี ปรโตโฆสะ การชักชวนของคนอื่น
ก็มี ชื่อว่าเหตุแห่งทิฏฐิ. บทว่า อธิฏฺฐานํ ได้แก่ ที่ตั้งมั่นแห่งทิฏฐิ
คำนี้เป็นชื่อของทิฏฐิที่ตั้งมั่นครอบงำเป็นไป.
บทว่า ทิฏฺฐิปริยุฏฺฐานํ ได้แก่ ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิที่ท่านกล่าวไว้
อย่างนี้ว่า คือ 1. ทิฏฐิคือทิฏฐิคตะ (ความเห็น) 2. ทิฏฐิคหนะ ชัฏคือ
ทิฏฐิ 3. ทิฏฐิกันตาระ กันดารคือทิฏฐิ 4. ทิฏฐิวิสูกะ ข้าศึกคือทิฏฐิ
5. ทิฏฐิวิปผันทิตะ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ 6. ทิฏฐิสังโยชน์ สังโยชน์